งาน ศอชต.

ความสำคัญของศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน (ศอช.)

          ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน (ศอช.) หรือ “Community Organization Network Center” เรียกโดยย่อว่า “CON Center”      เป็นองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรวมพลังระหว่างผู้นำ   กลุ่ม องค์กรต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ตำบล ในการทำงานร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน กำนัน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งประสานกับภาครัฐและภาคประชาชน ในการบริหารจัดการชุมชน โดยมีเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการชุมชนได้ด้วยตนเอง สามารถพึ่งตนเองได้ และนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยกรมการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดเป็นนโยบายเน้นหนักประจำปี 2544 ดำเนินการภายใต้ระเบียบกรมการพัฒนาชุมชน ว่าด้วยการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน พ.ศ.2544 ซึ่งกำหนดโครงสร้าง ศอช. ไว้ 3 ระดับ คือ ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับตำบล (ศอช.ต.)ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับอำเภอ (ศอช.อ.) และศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับจังหวัด (ศอช.จ.)
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการปรับเปลี่ยนระเบียบการดำเนินงานของ ศอช. จากระเบียบกรมการพัฒนาชุมชน
 เป็นระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน        พ.ศ.2551  เพื่อมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถของกลุ่ม/องค์กรภาคประชาชนในการพัฒนาชุมชน และเพื่อเสริมสร้างกลไกการรวมพลังภาคประชาชน อันสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 โดยได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารจัดการใหม่ ประกอบด้วย
          1. คณะกรรมการกลางศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน (ศอช.) จำนวน 27 คน โดยมี
                   1) ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน
                   2) อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน เป็นรองประธาน
                   3) หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมฯ ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยและหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เป็นกรรมการ
                   4) ผู้แทน ศอช. ผู้แทนเครือข่ายองค์การชุมชนและผู้ทรงคุณวุฒิ (จำนวนฝ่ายละ 5 คน) เป็นกรรมการ
                   5) รองอธิบดีฯ ที่อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ
                   6) ผู้อำนวยการสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
          มีอำนาจหน้าที่ คือ
                   1) กำหนดนโยบาย และควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน
                   2) ออกระเบียบ ข้อบังคับ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
                   3) แต่งตั้งอนุกรรมการหรือเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
                   4) จัดให้มีการประเมินผลความก้าวหน้าในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนในทุกระดับ
                   5) จัดทำฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน
                   6) ปฏิบัติการอื่นตามที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย
           2. สำนักงานอำนวยการคณะกรรมการกลาง ศอช.
          - ปฏิบัติหน้าที่ด้านวิชาการและธุรการให้กับคณะกรรมการกลางฯ โดยในระเบียบฯ กำหนดให้ตั้งอยู่ภายในกรมการพัฒนาชุมชน ภายใต้ความรับผิดชอบของกลุ่มงานพัฒนาองค์การชุมชนและเครือข่ายองค์การชุมชน สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงาน
          3. สำนักงานกลาง ศอช.
          - เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาความเข้มแข็ง ส่งเสริมและพัฒนาสวัสดิภาพและสวัสดิการของ ศอช.
เป็นสื่อกลางในการประสานความร่วมมือ จัดหาทุนสนับสนุนการดำเนินงาน สนับสนุน และประสานการดำเนินกิจการของ ศอช.
          4. คณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน
          - ให้มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่า 9 คน และไม่เกิน 25 คน ซึ่งเป็นผู้แทนองค์การชุมชน ผู้นำชุมชน หรือผู้แทนองค์กรชุมชน ทั้งในระดับตำบล (ศอช.ต.) ระดับอำเภอ (ศอช.อ.) และระดับจังหวัด (ศอช.จ.) โดยมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
                   1) สนับสนุนกระบวนการจัดทำระบบฐานข้อมูล
                   2) บูรณาการการจัดทำแผนชุมชนระดับตำบล ประสานแผนพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และแผนพัฒนาจังหวัด
                   3) ประสานงานระหว่างองค์การชุมชนในการดำเนินงานตามแผนงานและกิจกรรม
                   4) ประสานงาน และสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตย
                   5) สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
                   6) ประสานงาน และสนับสนุนการดำเนินงานตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
                   7) สนับสนุนให้มีกองทุน และสวัสดิการในชุมชน
                   8) ส่งเสริม และประสานให้มีการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
                   9) สนับสนุน และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของสังคม การยุติความขัดแย้งในชุมชน การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ เพื่อให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข ความสมานฉันท์
                   10) ประสานงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด
                   11) ประสานงาน และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ การบำรุงรักษา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                   12) ประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชนในการดำเนินกิจการของ ศอช.
                   13) ส่งเสริมและดำเนินการอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
                   4.1 คณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับตำบล (ศอช.ต.)    
ศอช.ต. มีคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้แทนองค์การชุมชน ผู้นำชุมชนกลุ่มอื่นๆ หรือผู้แทนองค์กรชุมชนอื่นในตำบลจำนวนไม่น้อยกว่าเก้าคน แต่ไม่เกินยี่สิบห้าคน ทำหน้าที่บริหาร ศอช.ต. ซึ่งได้รับการคัดเลือกตามหลักเกณฑ์  การคัดเลือกคณะกรรมการบริหาร ศอช.ต.
          1) การคัดเลือกคณะกรรมการบริหาร ศอช.ต. ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนที่ปฏิบัติงานในตำบลขออนุมัตินายอำเภอ เพื่อเชิญผู้แทนองค์การชุมชนในตำบลทั้งหมดและประชาชนทั่วไป จัดเวทีประชาคมคัดเลือกคณะกรรมการ

2)  ให้คณะกรรมการเลือกประธาน เลขานุการ และกรรมการตำแหน่งอื่นตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยการคัดเลือกกันเอง
3)   นายอำเภอ เป็นผู้ลงนามในประกาศรับรองผลการคัดเลือกคณะกรรมการ ตามมติของเวทีประชาคม                  
4.2 คณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับอำเภอ (ศอช.อ.)          ศอช.อ. มีคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้แทน ศอช.ต. ทุกตำบลในอำเภอ ตำบลละอย่างน้อยหนึ่งคน ผู้แทนเครือข่ายองค์การชุมชนระดับอำเภอ เครือข่ายองค์การชุมชนอย่างน้อยเครือข่ายละหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นตามความเหมาะสมจำนวนอย่างน้อยเก้าคน แต่ไม่เกินยี่สิบห้าคน ทำหน้าที่บริหาร ศอช.อ.
                   การคัดเลือกคณะกรรมการบริหาร ศอช.อ.
1)  ให้คณะกรรมการ ศอช.อ. คัดเลือกประธาน เลขานุการ และกรรมการตำแหน่งอื่นๆ
ตามความเหมาะสมโดยการคัดเลือกกันเอง
2)  ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนขออนุมัตินายอำเภอ เพื่อเชิญ ศอช.ต. ทุกตำบล ในอำเภอ
เครือข่ายองค์การชุมชนระดับอำเภอ เครือข่ายองค์การชุมชนและประชาชนทั่วไป จัดให้มีเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการ
3)  ให้นายอำเภอ เป็นผู้ลงนามในประกาศรับรองผลการคัดเลือกคณะกรรมการระดับอำเภอตามมติของเวทีประชาคม                  
4.3 คณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับจังหวัด (ศอช.จ.) ศอช.จ. มีคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้แทนศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนระดับอำเภอทุกอำเภอๆ ละหนึ่งคน ผู้แทนองค์การเครือข่ายพัฒนาชุมชนระดับจังหวัด องค์การเครือข่ายละหนึ่งคน ผู้แทนเครือข่ายองค์การชุมชนอื่นๆ ในระดับจังหวัด เครือข่ายละหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นตามความเหมาะสมอย่างน้อยเก้าคน แต่ไม่เกินยี่สิบห้าคน
                   การคัดเลือกคณะกรรมการบริหาร ศอช.จ.1)
  ให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัดเชิญ ศอช.อ. องค์การเครือข่ายชุมชนองค์การเครือข่ายพัฒนาชุมชนระดับจังหวัดทั้งหมด และประชาชนทั่วไปในเขตจังหวัดจัดให้มีเวทีประชาคม เพื่อคัดเลือกคณะกรรมการบริหาร ศอช.จ.2)  ให้คณะกรรมการคัดเลือกประธาน เลขานุการ และกรรมการตำแหน่งอื่นๆ ตามความเหมาะสมโดยการคัดเลือกกันเอง3)  ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ลงนามในประกาศรับรองผลการคัดเลือกคณะกรรมการระดับจังหวัด ตามมติของเวทีประชาคม         
5. คณะทำงานส่งเสริม ศอช.ต. / ศอช.อ. และ ศอช.จ.
          - คณะทำงานส่งเสริม ศอช.ต. ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้แทนกำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือผู้ทรงคุณวุฒิในตำบล
          - คณะทำงานส่งเสริม ศอช.อ. ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ปฏิบัติงานในอำเภอ
หรือผู้ทรงคุณวุฒิ
          - คณะทำงานส่งเสริม ศอช.จ. ประกอบด้วย ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ปฏิบัติงานในจังหวัด หรือผู้ทรงคุณวุฒิ
มีหน้าที่
 1) สนับสนุนภารกิจของศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน2) เสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาทักษะด้านต่างๆ แก่คณะกรรมการ
3) ให้คำปรึกษาด้านวิชาการ กฎหมาย ระเบียบ และช่วยเหลือสนับสนุนการดำเนินงานตามที่คณะกรรมการร้องขอ
                  
5.1 คณะทำงานส่งเสริม ศอช.ต. คณะทำงานส่งเสริม ศอช.ต. ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้แทน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่หรือผู้ทรงคุณวุฒิอื่นตามความเหมาะสม ทั้งนี้ ให้มีประธานคนหนึ่ง และกรรมการอื่นตามความเหมาะสม โดยมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทำหน้าที่เป็นเลขานุการ สำหรับการแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริม ศอช.ต ให้นายอำเภอแต่งตั้ง แล้วรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ ในกรณีที่คณะทำงานส่งเสริม ศอช.ต. ตำแหน่งใดในแต่ละระดับว่างลง เนื่องจากมีการแต่งตั้ง โยกย้าย สับเปลี่ยน ตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือเหตุอื่นใด หรือเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมกิจการ ศอช.ต. ให้จัดทำเป็นคำสั่งแต่งตั้งเพิ่มเติม แล้วรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ                   
5.2 คณะทำงานส่งเสริม ศอช.อ.          คณะทำงานส่งเสริม ศอช.อ. ประกอบด้วยข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ปฏิบัติงานในอำเภอ หรือผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่เหมาะสม ทั้งนี้ให้มีประธานหนึ่งคน และตำแหน่งอื่นตามความเหมาะสม โดยให้เจ้าหน้าที่ พัฒนาชุมชนทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะทำงาน สำหรับการแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริม ศอช.อ. ให้นายอำเภอแต่งตั้ง แล้วรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ ในกรณีที่คณะทำงานส่งเสริม ศอช.อ. ตำแหน่งใดในแต่ละระดับว่างลง เนื่องจากมีการแต่งตั้ง โยกย้าย สับเปลี่ยน ตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือเหตุอื่นใด หรือเพื่อประโยชน์ ในการส่งเสริมกิจการ ศอช.อ. ให้จัดทำเป็นคำสั่งแต่งตั้งเพิ่มเติม แล้วรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ                  
5.3 คณะทำงานส่งเสริม ศอช.จ.          คณะทำงานส่งเสริม ศอช.จ. ประกอบด้วยข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่ปฏิบัติงานในจังหวัด หรือผู้ทรงคุณวุฒิอื่นที่เหมาะสม ทั้งนี้ ให้มีประธานหนึ่งคน และตำแหน่งอื่นตามความเหมาะสม โดยให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะทำงาน สำหรับคณะทำงานส่งเสริม ศอช.จ.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง ในกรณีที่คณะทำงานส่งเสริม ศอช.จ. ตำแหน่งใดในแต่ละระดับว่างลง เนื่องจากมีการแต่งตั้ง โยกย้าย สับเปลี่ยน ตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือเหตุอื่นใด หรือเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมกิจการ ศอช.จ.
ให้จัดทำเป็นคำสั่งแต่งตั้งเพิ่มเติม แล้วรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ

          การสนับสนุนการดำเนินงาน(1)    สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด หรือศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขตจัดให้มีการฝึกอบรม หรือประชุมสัมมนา รวมทั้งให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่คณะกรรมการในแต่ละระดับ เพื่อให้เข้าใจบทบาทหน้าที่ และมีความรู้ความสามารถในการดำเนินงานบริหารจัดการศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ(2)    เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนระดับอำเภอ จังหวัด และศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนเขต
มีหน้าที่ติดตามสนับสนุน และประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนอย่างใกล้ชิดรวมทั้งให้สรุปรายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการกลางทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(3)    กรมการพัฒนาชุมชน เผยแพร่ข่าวสารที่เกี่ยวกับศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนแต่ละระดับ
รวมทั้งจัดทำรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(4)    ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ให้การสนับสนุนการดำเนินงานและงบประมาณแก่ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน และประสานความร่วมมือในการดำเนินการให้มีแผนชุมชนเพื่อรองรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม ตามความเหมาะสม5
          (5)    กรมการพัฒนาชุมชนอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดประชุมของคณะกรรมการกลาง และอาจอุดหนุนค่าใช้จ่ายของสำนักงานกลางของ ศอช. ตลอดจนการจัดประชุมคณะกรรมการ ศอช. ในแต่ละระดับ ได้ตามความเหมาะสม
ปัจจุบัน ศอช. มีจำนวนทั้งสิ้น 7,823 แห่ง แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับตำบล (ศอช.ต.) จำนวน
6,869 แห่ง ระดับอำเภอ (ศอช.อ.) จำนวน 878 แห่ง และระดับจังหวัด (ศอช.จ.) จำนวน 76 แห่ง ซึ่งการดำเนินงานของ ศอช. สามารถสรุปได้ดังนี้
          การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามภารกิจ
          กรมการพัฒนาชุมชนได้สนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานให้แก่ ศอช.ทั้งในระดับตำบล ระดับ
อำเภอ และระดับจังหวัดมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน โดยให้ขับเคลื่อนกิจกรรมตามภารกิจที่กำหนดไว้ในระเบียบฯ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ศอช. เช่น การเป็นกลไกในการบูรณาการแผนขุมชนระดับตำบล , การดำเนินการแก้ไขปัญหาชุมชนตามสภาพพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมแก่คณะกรรมการกลาง ศอช. และสำนักงานกลาง ศอช. เพื่อกำหนดทิศทาง สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานของ ศอช. ในระดับพื้นที่
ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน และหน่วยภาคี ในประเด็นดังต่อไปนี้
          1. นโยบายเร่งด่วนรัฐบาล
          เนื่องจากนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในด้าน
          1) การสร้างความปรองดองของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย
2) การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติด และ
3) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีความสอดคล้องกับภารกิจของ ศอช. ดังนั้นในการดำเนินงาน ศอช. จึงสามารถที่จะเป็นกลไก ในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลได้
          2. ภารกิจและอำนาจหน้าที่กรมฯ (ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชน
กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2552)
          ภารกิจและอำนาจหน้าที่กรมฯ ตามกฎกระทรวงฯ พ.ศ.2552 ได้กำหนดให้กรมฯ มีอำนาจ
หน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ ศอช. ดังนี้
          1) พัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้าง
ขีดความสามารถของประชาชน ชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การชุมชน และเครือข่ายองค์การชุมชน
          2) ฝึกอบรมและพัฒนา ผู้นำชุมชน องค์การชุมชนและเครือข่ายองค์การชุมชนให้มีความรู้
ทักษะ ทัศนคติ และสมรรถนะในการทำงาน
          3. ยุทธศาสตร์กรมฯ ปี 2555 – 2559
          กรมฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ศอช. ไว้ในประเด็นยุทธศาสตร์ 2 เสริมสร้างขีด
ความสามารถการบริหารงานชุมชน กลยุทธ์ที่ 2.2 เพิ่มขีดความสามารถผู้นำองค์กร เครือข่าย ซึ่งมีแผนงานที่
เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 
1) แผนงานพัฒนากลไกการบริหารจัดการชุมชน ได้แก่ การพัฒนาระบบบูรณาการรูปแบบการบริหารจัดการเครือข่าย , การพัฒนาระบบบริหารสำนักงานกลาง ศอช. สำนักงานอำนวยการคณะกรรมการกลาง ศอช. , พัฒนาหลักสูตรผู้นำชุมชน องค์กร และเครือข่าย
          2) แผนงานเสริมสร้างพลังเครือข่าย ได้แก่ เพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการ ศอช. และพัฒนา
เส้นทางความก้าวหน้าของผู้นำชุมชน และเครือข่าย
          3) แผนงานพัฒนาผู้นำชุมชน ได้แก่ เพิ่มศักยภาพองค์กร เครือข่าย ให้เป็นผู้ชำนาญการด้าน
การบริหารจัดการชุมชน
          4) แผนงานเสริมสร้างคุณค่าและประชาสัมพันธ์ ได้แก่ รวมพลังเครือข่ายพัฒนาชุมชนระดับชาติ ,
ยกย่องเชิดชูเกียรติผู้นำการพัฒนาดีเด่น
          โดยมีการกำหนดตัวชี้วัด คือ เครือข่ายมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาชุมชนได้ร้อยละ 80
          4. หน่วยงานภาคี
                   ** กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม
                   กรมการพัฒนาชุมชน ได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานแก่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ โดยให้ ศอช. เป็นกลไกในการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน โดยมีการลงนามทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันโดยให้ ศอช.ต. ดำเนินกิจกรรมด้านการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในชุมชน โดยในปี 2555 ได้สนับสนุนให้ ศอช.ต. จำนวน 152 แห่ง ใน 76 จังหวัด เป็นกลไกในการจัดการความขัดแย้งในชุมชน ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชนและการจัดการความขัดแย้ง เพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชุมชนและสังคม
                   ** คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                   ปีงบประมาณ 2554 ศอช.อ. จำนวน 100 แห่ง ใน 76 จังหวัด ได้ให้ความร่วมมือแก่ คณะ
พาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการสำรวจความต้องการและความสนใจในบริการทางการเงินและผลิตภัณฑ์ทางการเงินของบุคคล เพื่อให้ทราบถึงขนาดของการเงินราย่อยในประเทศไทยและปัจจุบัน ตลอดจนความต้องการและความสนใจในบริการทางการเงินและผลิตภัณฑ์ทางการเงินรายย่อยของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในต่างจังหวัด
                   ** สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
                   ปีงบประมาณ 2554 คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณแก่ ศอช. ในการดำเนินโครงการ ศอช. สู่เส้นทางการเมืองใสสะอาด โดยให้ ศอช.จ. และ ศอช.อ. รณรงค์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ปราศจากการซื้อสิทธิ์ขายเสียง
จากบทบาทภารกิจของ ศอช. ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ศอช. เป็นองค์การเครือข่ายที่มี
ความสำคัญในการปฏิบัติงานในชุมชน เนื่องจากมีบทบาทภารกิจที่หลากหลาย และครอบคลุมในทุกระดับทั้งระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด และครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านสังคม วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงควรมีการสนับสนุนการดำเนินงานของ ศอช. อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาศักยภาพของ ศอช. ให้มีความเข้มแข็งและสามารถบริหารจัดการชุมชนเพื่อนำไปสู่ชุมชนแห่งความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนตามวิสัยทัศน์ของกรมการพัฒนาชุมชน คือ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น